Sunday 24 July 2011

Paracetamol หรือ Acetaminophen

Paracetamol หรือ Acetaminophen


มีฤทธิ์ระงับปวด ลดไข้ แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านการอักเสบหรือมีแต่น้อย เพราะกลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งการสร้าง prostaglandins ที่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) ซึ่งมีผลต่อการเกิดอาการปวดหรือมีไข้เท่ากับ aspirin  

ส่วนการยับยั้งการสร้าง prostaglandins ที่ peripheral tissue (ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดการอักเสบ) 
paracetamol ยับยั้งได้น้อยกว่าแอสไพรินถึง 10 เท่า

ขนาดที่ใช้ 10 mg/kg ทุก 4-6 ชั่วโมง

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

1.      hypersensitivity พบไม่มากในขนาดการใช้ปกติ
2.          อื่น ๆ พบได้น้อย เช่น  neutropenia, pancytopenia ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น

พิษจากการได้รับยาเกินขนาด

                การได้รับ paracetamol ในขนาดมากกว่า 10 กรัมจะทำให้เกิดพิษต่อตับ (hepatic damage) และถ้ามากกว่า 15 กรัม จะทำให้เสียชีวิตได้

การแก้พิษ โดยใช้ N-acetylcysteine ไปจับกับ metabolite ที่เป็นพิษของ paracetamol โดยก่อนให้ยาควรจะมีการทำให้ผู้ป่วยอาเจียนหรือล้างท้องก่อน แล้วให้ activated charcoal ไปดูดซึมยาที่เหลือจากนั้นล้างท้องเอา activated charcoal ออกก่อน เพราะอาจจะดูดซับ N-acetylcysteine แล้วจึงให้ N-acetylcysteine 

ข้อมูลเพิ่มเติมจาก : atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/275/medicine/paracetamol.htm

paracetamol ในรูปยารับประทานมีค่า bioavailability 60-70%
ค่า Cmax (peak plasma level) รูปแบบยาเม็ด 640 mcg/dL ในเวลา 1 ชั่วโมง

และในรูปแบบแคปซูล 540 mcg/dL ในเวลวา 1.5 ชั่วโมง
ส่วนค่า Tmax เป็น 1-2 ชั่วโมง ยานี้จะเริ่มออกฤทธิ์บรรเทาปวดหลังรับประทาน 0.5 ชั่วโมง

ขนาดยาในเลือดที่จะทำให้เกิดพิษ คือ 200 mcg/dL ในเวลา 4 ชั่วโมง หรือ 50 mcg/dL ในเวลา 12 ชั่วโมง จะทำให้ตับถูกทำลายได้

ยานี้มี total protein binding 20-30%(ความสามารถในการจับกับโปรตีน)
ถ้าได้รับยาเกินขนาดจะเปลี่ยนเป็น 20-50% มีค่า volume of distribution(Vd) 1-2 L/kg

metabolism ยานี้ถูกทำลายที่ตับเป็นส่วนใหญ่ โดยผ่าน first pass metabolism 25% ได้ metabolites ที่ inactive
การขับถ่าย

ยานี้จะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ 1-4% ในรูปเดิม และมีความปลอดภัยในการใช้ในหญิงให้นมบุตร

ยานี้มี half-life (ขนาดของยาเมื่อเข้าสู่ร่างกายลดลงครึ่งหนึ่ง) ภายใน 2-4 ชั่วโมง

ขนาดยาที่ใช้ (Dosage range)

ผู้ใหญ่ให้รับประทานครั้งละ 325-1,000 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง (วันละไม่เกิน 4 กรัม  คิดได้ หากเม็ดละ 500 mg = คือทานได้ไม่เกินวันละ 8 เม็ด โดยขนาดทั่วไปในท้องตลาด)

ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 10 วัน

 ในเด็กให้รับประทานขนาด 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือตามฉลากที่ระบุไว้

ไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 วัน และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 5 ครั้งนอกจากแพทย์สั่งใช้

อาการไม่พึงประสงค์และพิษ (adverse effects and toxicities)

ไม่ทราบเปอร์เซ็นต์การเกิด
อาจเพิ่มระดับ chloride, bilirubin, uric acid, glucose, ammonia, alkaline phosphatase
อาจลดระดับ sodium, bicarbonate, calcium

<1%
analgesic nephropathy, anemia, blood dyscrasias(neutropenia, pancytopenia, leukopenia), hypersensitivity reactions(rare), nausea, nephrotoxicity with chronic overdose, rash, vomiting

พิษวิทยาไม่พบว่ายานี้ทำให้เกิด teratogenic(ความพิการของทารกในครรภ์)

พิษจากการได้รับยาเกินขนาด
อาการที่เกิดเมื่อได้รับยาเกินขนาด คือ hepatic necrosis(เป็นพิษต่อตับ), transient azotemia, renal tubular necrosis with acute toxicity, anemia, GI disturbances with chronic toxicity

ส่วนการรักษาอาการเกิดพิษจากพาราเซตามอล คือ ครั้งแรกให้ acetylcysteine 140 mg/kg โดยการรับประทาน แล้วตามด้วยขนาด 70 mg/kg ทุก 4 ชั่วโมง ทั้งหมด 17 doses การรักษาจะขึ้นกับผลทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย activated charcoal สามารถจับกับยานี้ได้ดี

อาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาหากให้ร่วมกับยาต่อไปนี้ (Drug-Drug interaction)

diflunisal
การใช้ diflunisal บางตัวร่วมกับ paracetamol จะมีผลทำให้ระดับยา paracetamol ในเลือดเพิ่มขึ้นได้ถึง 50% ซึ่งทำให้เกิดพิษได้(hepatotoxicity)

Isoniazid
มีรายงานว่าการให้ isoniazid ร่วมกับ paracetamol ทำให้เกิด hepatotoxicity ได้ในบางกรณี โดยยังไม่ทราบสาเหตุ

Phenytoin
Phenytoin จะเพิ่มการ metabolize ของ paracetamol ถึง 40% และทำให้ half-life ลดลง 25% และทำให้มีโอกาสเกิดพิษจากยา paracetamol เพิ่มขึ้น เพราะการเพิ่ม metabolism ของ paracetamol โดยยาที่เป็น enzyme inducer ทำให้เกิด toxic metabolites

Sulfinpyrazone
การให้ paracetamol ร่วมกับ sulfinpyrazone จะเพิ่ม metabolism ของ paracetamol ขึ้น 20% และมีโอกาสเกิดพิษจาก paracetamol ได้เพิ่มขึ้น

Zidovudine
การให้ยา paracetamol ร่วมกับ zidovudine ทำให้มีโอกาสเกิด neutropenia หรือ hepatotoxicity ได้เพิ่มขึ้น โดยยังไม่มีรายงานที่ชัดเจน และยังไม่ทราบกลไกการเกิด

Ethanol
ในผู้ที่ติดแอลกอฮอล์หากได้รับยา paracetamol มากกว่าขนาดรักษา หรือเกินขนาดจะมีโอกาสเกิดพิษต่อตับมากกว่าผู้ที่ไม่ติดแอลกอฮอล์ 
เพราะผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีผลกระตุ้นให้เอนไซม์ที่ตับทำให้ยา patacetamol ถูกเปลี่ยนเป็น toxic metabolites ได้มากขึ้น จึงทำให้มีโอกาสเกิดพิษต่อตับเพิ่มขึ้น

ข้อควรระวัง (Precautions)

    ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เคยแพ้ยานี้

    ระวังการใช้ยานี้ในผู้ที่เป็น G-6-PD deficiency เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดแดงแตกได้


    ภาพแสดงกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกายเมื่อยาพาราเซตามอลเข้าสู่ร่างกาย


Picture from : en.wikipedia.org/wiki/File:Paracetamol_metabolism.png





ที่มา : msu.ac.th/cyberclass/cyberclass.doc