Wednesday, 20 April 2011

สาเหตุของระดับกรดยูริกในเลือดสูง

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) หมายถึงภาวะที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเกินปกติ โดยทั่วไปถือว่ามีค่ามากกว่า 7.0 มก./ดล.



picture from : .udel.edu/medtech/mclane/CRCcase2ans4.html




สาเหตุของระดับกรดยูริกในเลือดสูง


1.       ไม่ทราบสาเหตุ
2.       ระดับกรดยูริกในเลือดสูงที่ทราบสาเหตุ
      2.1    มีการสร้างสารกรดยูริกเพิ่มขึ้น
               2.1.1 มีการสร้างสารพิวรีนเพิ่มขึ้น
                     1.       มีการเพิ่มขึ้นของเอ็นซัยม์ phosphoribosyl pyrophosphate synthetase
                     2.       การขาดเอ็นซัยม์ hypoxanthine guanine phosphoribosyl transferase
                     3.       การขาดเอ็นซัยม์ glucose-6-phosphatase
                     4.       การได้รับสารหรือยาบางชนิด เช่น fructose, nicotinic acid, warfarin
               2.1.2           มีการสลายตัวของกรดนิวคลีอิคมากขึ้น
                     1.       โรคเลือด เช่น myeloproliferative disease, polycytemia vera,hemoglobinopathy,         hemolytic anemia, pernicious anemia
                     2.       โรคมะเร็ง เช่น carcinoma, sarcoma, lymphoma, leukemia, multiplemyeloma
                  3.       ภาวะขาดอ๊อกซิเจนในเลือด (hypoxemia) เช่น ภาวะหายใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
                    4.       สารหรือยาบางชนิด เช่น fructose, ethanol, cytotoxic drugs
                    5.       โรคอื่น ๆ ได้แก่ sarcoidosis, psoriasis
       2.2    มีการขับกรดยูริกออกจากร่างกายลดลง
                1.       ภาวะขาดน้ำ (dehydration)
                2.       ภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) เช่น lactic acidosis, ketoacidosis
             3.       โรคไต เช่น ไตวาย ความดันโลหิตสูง Bartter’s syndrome, polycystic kidney, lead nephropathy, pre-eclampsia
       4.       ความผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อหรือเมตะบอลิสซั่ม เช่น hyperparathyroidism, hypothyroidism, เบาหวาน และไขมันในเลือดสูง
                5.       สารหรือยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาแอสไพรินขนาดต่ำ ยา pyrazinamide ยา ethambutol ยา nicotinic acid และสุรา
                6.       โรคอื่น ๆ เช่น Dawn’s syndrome, Paget’s disease, cystinuria

แนวทางในการสืบค้นหาสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

1.             พิจารณาว่าผู้ป่วยมีภาวะกรดยูริกในเลือดสูงจริงหรือไม่ และภาวะกรดยูริกในเลือดสูงเป็นชั่วคราวหรือสูงตลอดเวลา

ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้ชั่วคราว เช่น ภาวะความดันโลหิตต่ำ ภาวะขาดน้ำ (dehydration) การดื่มสุรา ภาวะเลือดเป็นกรด (metabolic acidosis) 

หรือการได้รับยาบางชนิด เช่น การแอสไพรินในขนาดต่ำ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาวัณโรค เช่น ยา pyrazinamide และยา ethambutol เป็นต้น 

เนื่องจากยาเหล่านี้สามารถทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นได้ชั่วคราว และเมื่อได้ทำการแก้ไขความผิดปกติหรือหยุดยาดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดกลับมาสู่ค่าปกติได้

ในรายที่ได้ทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวข้างต้นแล้ว ถ้าทำการตรวจวัดระดับกรดยูริกซ้ำในระยะเวลา 1-2 เดือนต่อมายังพบว่าผู้ป่วยมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงอยู่ บ่งชี้ว่าผู้นั้นมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงจริง

2.    ค้นหาสาเหตุของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

ในผู้ที่พบว่าระดับกรดยูริกในเลือดสูงจริง ควรทำการค้นหาสาเหตุที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูง 
ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการมีกรดยูริกในร่างกายสูงเกินปกติ 

เช่น ข้ออักเสบ และปุ่มโทฟัสตามผิวหนัง (ดูในแนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคเก๊าท์) หรือประวัติหรือตรวจพบนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น การลดน้ำหนักตัวในรายที่อ้วนมากจะทำให้ระดับยูริกในเลือดลดลงได้บ้าง

ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เหมาะสม     ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโรคหรือภาวะที่อาจเป็นไปได้ในตารางที่ 1 (จากการซักประวัติและตรวจร่างกาย)

ในรายที่สงสัยว่ามีการขับกรดยูริกสูงผิดปกติ อาจตรวจโดยเก็บปัสสาวะ 24 ช.ม. ในคนปกติที่รับประทานอาหารตามปกติจะมีการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะน้อยกว่า 800 มก./24 ช.ม.

การมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่า 13.0 มก./ดล. ในเพศชาย และ 10.0 มก./ดล. ในเพศหญิง หรือการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะมากกว่าวันละ 1,100 มก. (เมื่อรับประทานอาหารตามปกติ) จะพบอุบัติการของไตทำงานบกพร่อง และนิ่วในทางเดินปัสสาวะมากขึ้น ควรพิจารณาให้การรักษา

ที่มา :  แนวทางเวชปฏิบัติภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) และโรคเก๊าท์ (Gout) โดยสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

 


No comments:

Post a Comment