ยาที่ใช้ในโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่
1 ยาต้านการอักเสบของข้อ ได้แก่ Colchicine, NSAIDs และ Corticosteroids
ยาในกลุ่มนี้จะใช้เมื่อมีอาการอักเสบของข้อ
ยาหลักที่ใช้คือ Colchicine เพราะสามารถให้ติดต่อกันได้เป็นเวลานาน ไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารและไม่ทำให้การทำงานของไตบกพร่อง
ส่วนยา NSAIDs ที่ห้ามใช้ในโรค Gout คือ Aspirin เพราะมีผลต่อระดับกรดยูริกในเลือด
ส่วน NSAIDs ตัวอื่นสามารถใช้ได้ แต่ระยะเวลาในการให้ไม่เกิน 5-7 วัน
ส่วน Corticosteroids ที่นิยมใช้อยู่ในรูปแบบฉีดเข้าข้อเป็นหลัก
กลุ่มที่2 คือยาที่มีผลลดระดับกรดยูริกในเลือดคือ Uricosuric agent
ได้แก่ probenecid และ sulfinpyrazone
ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการ Reabsorption ของกรดยูริกที่ไต จึงต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต
และยากลุ่มที่มีผลลดระดับกรดยูริกในเลือดอีกตัว คือ Allopurinol มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Xanthine oxidase enzyme ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างกรดยูริกในร่างกาย ยาตัวนี้มีข้อดีคือ สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคไตได้
ยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวดแบบฉับพลับ
Colchicine
กลไกการออกฤทธิ์
จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง PMN (polymorphonuclear) และการปล่อย Chemotactic factor จาก PMN(polymorphonuclear)
ยา Colchicine มีข้อดีเหนือกว่ายากลุ่ม NSAIDs เนื่องจากสามารถให้ยาติดต่อกันนานได้เป็นปี เพราะไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารจนทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผลหรือเลือดออกและไม่ทำให้การทำงานของไตบกพร่อง
อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse Drug Reaction)
ท้องเสียเมื่อให้ยาเกินขนาด ดังนั้นควรให้ยาในขนาดที่แนะนำให้ใช้ ดังต่อไปนี้
ขนาดการรักษา
Ø ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน 0.6 mg ทุก 4-6 ชั่วโมง (Maximum 4 เม็ด/วัน)
Ø ป้องกันข้ออักเสบ 0.6 mg 1-2 เม็ด/วัน
Ø ส่วนผู้ที่มีข้ออักเสบบ่อยๆ เช่น เดือนละ 1-2 ครั้ง ควรให้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 1-2 ปี ควบคู่ไปกับการให้ยาลดกรดยูริก จนแน่ใจว่าผลึกยูเรตถูกละลายออกจากบริเวณข้อจนหมดแล้ว จึงหยุดยา Colchicine
No comments:
Post a Comment