Monday 20 June 2011

ยาลดระดับกรดยูริกในเลือด

ยาที่มีผลลดระดับกรดยูริกในเลือด
                

ยาในกลุ่มนี้จะไม่มีผลลดการอักเสบจะใช้หลังจากที่อาการอักเสบของข้อหายไปแล้ว เนื่องจากว่าถ้าใช้ยาที่มีผลลดระดับกรดยูริกขณะมีการอักเสบของข้อจะปวดมากยิ่งขึ้น

         Uricosuric agent


                เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการ Reabsorption ของกรดยูริกที่ proximal tubule ของไตมีผลทำให้เกิดภาวะกรดยูริกสูงในปัสสาวะ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีสภาวะการทำงานของไตผิดปกติจึงไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้ นอกจากนี้ เมื่อให้ยาในกลุ่มนี้แล้วต้องระวังการเกิดนิ่วในไต เพราะมีปริมาณกรดยูริกถูกขับออกทางไตมากขึ้น จึงมักให้ร่วม Sodium bicarbonate วันละ 2-6 กรัม เพื่อรักษา pH ของปัสสาวะให้เป็นด่างอยู่เสมอ
       

  Probenecid

ขนาดที่ใช้ สำหรับ Chronic gout arthritis
                เริ่มต้น 250 mg วันละ 2 ครั้ง ในสัปดาห์แรก ต่อจากนั้นให้ในขนาด 500 mg วันละ 2 ครั้ง
                ปกติระดับกรดยูริกในเลือดจะต่ำลงภายในเวลา 2-3 วัน หลังให้ยา ถ้าระดับกรดยูริกในเลือดไม่ลดต่ำลงหรือปริมาณกรดยูริกที่ถูกขับออกมาทางปัสสาวะไม่เกิน 700 mg/day ก็อาจเพิ่มขนาดของยาที่ให้ได้ทุก 4 สัปดาห์ ครั้งละ 500 mg โดย maximum dose คือ 2-3 กรัม/วัน

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

1.      พบมาก ได้แก่ headache , anorexia ,GI upset ,nausea ,vomiting
2.          พบน้อย ได้แก่ dizziness, flushing, sore gums, opecia, urinary frequency, leukopenia และ anemia
ข้อควรระวังในการใช้ยา
1.      ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหาร
2.      ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว Blood dyscrasia หรือ uric acid kidney stones
3.      ผู้ป่วยที่มีสภาวะไตผิดปกติ
4.      ผู้ป่วยที่มีภาวะ hypersensitivity ต่อยา probenecid


ปฏิกิริยาต่อกันของยา
                เนื่องจากการยับยั้ง Reabsorption ที่ proximal tubule จึงมีผลต่อยาหลายตัว เช่น Methotrexate,  Salicylate, Barbiturate, Sulphonylurea

Sulfinpyrazone

ขนาดที่ใช้
สำหรับ Chronic gout arthitis เริ่มต้นด้วย 200-400 mg/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ขนาด 400 mg/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้ง สามารถให้ยาในขนาดนี้จนสามารถควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดได้ จึงลดเป็น 200 mg/วัน และสามารถเพิ่มขนาดยาเป็น 800 mg/วัน ได้ ถ้ายังไม่สามารถควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดได้

อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

1.      พบมาก ได้แก่ Upset GI Disturbance ถ้าให้พร้อมอาหาร นม หรือ ยาลดกรด ก็จะช่วยลดอาการไม่พึงประสงค์นี้ได้
2.          พบน้อย ได้แก่ Rash, Blood dyscrasia เป็นต้น

  Benzbromarone

ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาตัวอื่นในกลุ่ม คือ ยับยั้ง Reabsorption ของกรดยูริกที่ proximal tubule เป็นยาใหม่ที่มักใช้ร่วมกับ allopurinol เพื่อเสริมฤทธิ์การลดปริมาณกรดยูริก

   

 Xanthine Oxidase Inhibitor
                ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ยับยั้ง xanthine oxidase enzyme ทำให้ Xanthine ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นกรดยูริกได้ มีเพียงตัวเดียว คือ allopurinol

Allopurinol

ขนาดที่ใช้        
ผู้ใหญ่     200- 300 mg/วัน สำหรับ Mild Gout
                                400-600 mg/วัน สำหรับ Moderate to Severe Gout
 โดยแบ่งให้ครั้งละไม่เกิน 300 mg ขนาดยาสูงสุด ไม่เกิน 800 mg/วัน
                เด็ก (6 -12 ปี) 1 mg/kg/วัน ทุก 6 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดที่ให้ไม่เกิน 600 mg/วัน

                Allupurinol มีข้อดีกว่ายาในกลุ่ม Uricosuric agent คือ สามารถใช้กับผู้ป่วยโรคไตที่ไม่รุนแรง 
มีนิ่วในไต หรือมีการขับกรดยูริกทางปัสสาวะมากอยู่แล้วเพราะไม่มีผลยับยั้ง reabsorption ของกรดยูริก

                การให้ยาลดกรดยูริกในเลือด ต้องพยายามลดให้ระดับกรดยูริกต่ำกว่า 7 mg% ในเลือด
 เพื่อให้มีการละลายกรดยูริกจาก tophi ต่างๆ ออก อาจต้องให้ยาไปเรื่อยๆ มีการปรับระดับยามากน้อยแล้วแต่ระดับกรดยูริกและต้องตรวจวัดระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะๆ

Non-steroidal anti-inflammatory drug : NSAIDs (ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์)


ยาที่ใช้รักษาอาการปวดจากโรคเก๊าท์แบบฉับพลัน


NSAIDs 

Non-steroidal anti-inflammatory drug : NSAIDs

(ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์)


กลไกการออกฤทธิ์

                ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง prostaglandins และรบกวน phagocytosis ของเม็ดเลือดขาว จึงลดการอักเสบได้ผลดี
ยาที่นิยมใช้ เช่น Indomethacin, Ibuprofen, Naproxen, Piroxicam, Sulindac, Diclofenac เป็นต้น การให้ยา NSAIDs มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรักษาให้ข้อหายอักเสบเท่านั้น จึงมักจะให้ไม่เกิน 5-7 วัน เพราะถ้าให้เป็นเวลานานจะเสี่ยงต่ออาการไม่พึงประสงค์ของระบบทางเดินอาหารได้

Corticosteroid
กลไกการออกฤทธิ์
ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบ มีทั้งชนิดฉีดเข้าข้อ รับประทาน, Intramuscular (IM) และ Intravenous (IV) การให้ยาโดยการฉีดเข้าข้อเหมาะสำหรับการอักเสบของข้อหรือถุงน้ำเฉพาะที่เพียง 1-2 แห่ง 

ในผู้ป่วยที่มีปัญหาไม่สามารถใช้ยา Colchicine หรือ NSAIDs ได้ ส่วนใหญ่การให้ในรูป IM หรือ IV ใช้ในกรณีที่ข้ออักเสบหลายข้อและมีภาวะอื่นที่เป็นข้อห้ามในการใช้ NSAIDs และ Colchicine

การให้ Steroid ทาง Systemic (รับประทาน, IM, IV) อาจทำให้เกิด Rebound หรือข้ออักเสบกำเริบได้ เมื่อหมดฤทธิ์ยาต้องค่อยๆ ลดขนาดยาและถอนยา หรือใช้ Colchicine ป้องกันข้ออักเสบควบคู่ไปด้วย

การกำหนดมื้ออาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ 



ควรประกอบด้วยอาหารหลัก 5 หมู่ เพื่อให้ได้สาร อาหารครบถ้วน และ งดอาหารที่มีสาร Purineมาก



1. พลังงาน 

ในผู้ที่อ้วน จำเป็นต้องจำกัดพลังงานของอาหาร เพื่อให้น้ำหนักลดลง 

เนื่องจากความอ้วน ทำให้เกิดอาการโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น 

แต่ต้องระมัดระวังในระยะที่มีอาการรุนแรง ไม่ควรให้อาหารที่มีพลังงานต่ำเกินไป เพราะอาจทำให้มีการสลายของไขมันในเนื้อเยื่อไขมัน 

ซึ่งจะทำให้สารยูริคถูกขับออกจากร่างกายได้น้อย และ อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้นได้ ผู้เป็นโรคเก๊าท์ไม่ควรอดอาหาร และ ควรได้พลังงานประมาณ 1,200-1,600 แคลอรี่/วัน




2. โปรตีน 

ควรได้รับอาหารโปรตีนตามปรกติ ไม่เกิน 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม 
โดยหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีสารPurineมาก

3. ไขมัน


ควรได้รับอาหารที่มีไขมันให้น้อยลง โดยจำกัดให้ได้รับประมาณวันละ 60 กรัม เพื่อให้น้ำหนักลดลง 
การได้รับอาหารที่มีไขมันมากเกินไป จะทำให้มีการสะสมสารไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น 

ซึ่งการมีสารไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงขึ้น จะทำให้ขับถ่ายสารยูริคได้ไม่ดี 
และพบว่า ถ้าอ้วน และมียูริคในเลือดสูง เมื่อลดน้ำหนักลง กรดยูริคในเลือดจะลดลงด้วย

4. คาร์โบไฮเดรท


ควรได้รับให้พอเพียงในรูปของข้าว แป้งต่าง ๆ และผลไม้ ลดน้ำตาล 
เพราะถ้าน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง ซึ่งจะมีผลต่อการขับถ่ายสารยูริคด้วย

5. แอลกอฮอล์ 

ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเหล้ามาก ๆ เพราะการเผาผลาญแอลกอฮอล์ จะทำให้มีกรดแลคติคเกิดขึ้น 
และมีการสะสมแลคเตตเพิ่มขึ้น ซึ่งจะมีผลให้กรดยูริคถูกขับถ่ายได้น้อยลง




การจัดอาหารให้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอ



1. ในระยะที่มีอาการรุนแรง ควรงดอาหารที่มีพิวรีนมาก ในระหว่างมื้ออาหารให้ดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยขับกรดยูริค ช่วยรักษาสุขภาพของไต และ ป้องกันมิให้เกิดก้อนนิ่วที่ไต

2. งดเว้นอาหารที่ให้พลังงานมาก ได้แก่ ขนมหวานต่าง ๆ อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด และ ขนมหวาน ที่มีน้ำตาล และ ไขมันมาก

3. รับประทานอาหารที่มีใยอาหารมาก จะช่วยลดน้ำหนัก

4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะมีส่วนช่วยให้อาการของโรคเก๊าท์รุนแรงขึ้น

5. งดอาหารที่มีไขมันมาก เพราะไขมันจะขับกรดยูริคน้อยลง เกิดการคั่งของกรดยูริคในเลือดมากขึ้น


ที่มา : นพ.สุเมธ เถาหมอ โรงพยาบาล วิภาวดี

การควบคุมอาหารเพื่อรักษาโรคเก๊าท์

การควบคุมอาหาร 

เนื่องจาก กรดยูริคที่กล่าวกันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์นั้นจะได้จากการเผาผลาญสารPurine ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารพิวรีนมากๆ โดยการจำกัดการรับประทานในแต่ละมื่อ

อาหารที่ประกอบด้วยสารพิวรีนแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ ในจำนวนสารพิวรีนในอาหาร 100 กรัม จะประกอบด้วยสารพิวรีนในอาหาร ดังนี้

0-50 มิลลิกรัม
(ถือว่าน้อย)
50-150 มิลลิกรัม
(ปานกลาง)
150 มิลลิกรัมขึ้นไป
(มาก ควรงด)



ดังนั้น จำนวนสารพิวรีนในอาหาร 100 กรัม  สามารถแสดงได้ดังตารางนี้


0-50 มิลลิกรัม
(น้อย)
50-150 มิลลิกรัม
(ปานกลาง)
150 มิลลิกรัมขึ้นไป
(มาก ควรงด)

1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2. ไข่
3. ธัญพืชต่าง ๆ
4. ผักต่าง ๆ
5. ผลไม้ต่าง ๆ
6. น้ำตาล
7. ผลไม้เปลือกแข็งทุกชนิด
 
8. ไขมัน

 1. เนื้อหมู
 2. เนื้อวัว
 3. ปลากระพงแดง
 4. ปลาหมึก
 5. ปู
 6. ถั่วลิสง
 7. ใบขี้เหล็ก
 8. สะตอ
 9. ข้าวโอ๊ต
10. ผักโขม
11. เมล็ดถั่วลันเตา
12. หน่อไม้
1. หัวใจไก่
2. ไข่ปลา
3. ตับไก่
4. มันสมองวัว
5. กึ๋นไก่
6. หอย
7. เซ่งจี้(หมู)
8. ห่าน
9. ตับหมู
10. ยีสต์
11. ปลาดุก
12. น้ำต้มกระดูก
13. เนื้อไก่,เป็ด
14. ซุปก้อน
15. กุ้งชีแฮ้
16. น้ำซุปต่าง ๆ
17. น้ำสกัดเนื้อ
18. ปลาไส้ตัน
19. ถั่วดำ
20. ถั่วแดง
21. ปลาขนาดเล็ก
22. เห็ด
23. ถั่วเขียว
24. กระถิน
25. ชะอม
26. ตับอ่อน
27. กะปิ
28. ถั่วเหลือง
29. ปลาอินทรีย์
30. ปลาซาดีนกระป๋อง

แผนภูมิยาที่ใช้ในโรคเก๊าท์


ยาที่ใช้ในโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่

1 ยาต้านการอักเสบของข้อ ได้แก่ Colchicine, NSAIDs และ Corticosteroids 
ยาในกลุ่มนี้จะใช้เมื่อมีอาการอักเสบของข้อ 

ยาหลักที่ใช้คือ Colchicine เพราะสามารถให้ติดต่อกันได้เป็นเวลานาน ไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารและไม่ทำให้การทำงานของไตบกพร่อง 

ส่วนยา NSAIDs ที่ห้ามใช้ในโรค Gout คือ Aspirin เพราะมีผลต่อระดับกรดยูริกในเลือด 
ส่วน NSAIDs ตัวอื่นสามารถใช้ได้ แต่ระยะเวลาในการให้ไม่เกิน 5-7 วัน 
ส่วน Corticosteroids ที่นิยมใช้อยู่ในรูปแบบฉีดเข้าข้อเป็นหลัก


 กลุ่มที่2 คือยาที่มีผลลดระดับกรดยูริกในเลือดคือ Uricosuric agent 

ได้แก่ probenecid และ sulfinpyrazone 

ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการ Reabsorption ของกรดยูริกที่ไต จึงต้องระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต 

และยากลุ่มที่มีผลลดระดับกรดยูริกในเลือดอีกตัว คือ Allopurinol มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ Xanthine oxidase enzyme ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างกรดยูริกในร่างกาย ยาตัวนี้มีข้อดีคือ สามารถใช้ในผู้ป่วยโรคไตได้


ยาที่ใช้เมื่อมีอาการปวดแบบฉับพลับ

Colchicine 



กลไกการออกฤทธิ์ 

จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง PMN (polymorphonuclear) และการปล่อย Chemotactic factor จาก PMN(polymorphonuclear)
        
 ยา Colchicine มีข้อดีเหนือกว่ายากลุ่ม NSAIDs เนื่องจากสามารถให้ยาติดต่อกันนานได้เป็นปี เพราะไม่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหารจนทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผลหรือเลือดออกและไม่ทำให้การทำงานของไตบกพร่อง

อาการไม่พึงประสงค์ (Adverse Drug Reaction)

                ท้องเสียเมื่อให้ยาเกินขนาด ดังนั้นควรให้ยาในขนาดที่แนะนำให้ใช้ ดังต่อไปนี้

ขนาดการรักษา
Ø       ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน 0.6 mg ทุก 4-6 ชั่วโมง (Maximum 4 เม็ด/วัน)
Ø       ป้องกันข้ออักเสบ 0.6 mg 1-2 เม็ด/วัน
Ø       ส่วนผู้ที่มีข้ออักเสบบ่อยๆ เช่น เดือนละ 1-2 ครั้ง ควรให้ติดต่อกันเป็นเวลานาน 1-2 ปี ควบคู่ไปกับการให้ยาลดกรดยูริก จนแน่ใจว่าผลึกยูเรตถูกละลายออกจากบริเวณข้อจนหมดแล้ว จึงหยุดยา Colchicine