Monday 20 June 2011

การควบคุมอาหารเพื่อรักษาโรคเก๊าท์

การควบคุมอาหาร 

เนื่องจาก กรดยูริคที่กล่าวกันว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์นั้นจะได้จากการเผาผลาญสารPurine ดังนั้น ในการรักษาโรคเก๊าท์ จึงต้องควบคุมอาหารที่มีส่วนประกอบของสารพิวรีนมากๆ โดยการจำกัดการรับประทานในแต่ละมื่อ

อาหารที่ประกอบด้วยสารพิวรีนแบ่งออกเป็นสามกลุ่ม คือ ในจำนวนสารพิวรีนในอาหาร 100 กรัม จะประกอบด้วยสารพิวรีนในอาหาร ดังนี้

0-50 มิลลิกรัม
(ถือว่าน้อย)
50-150 มิลลิกรัม
(ปานกลาง)
150 มิลลิกรัมขึ้นไป
(มาก ควรงด)



ดังนั้น จำนวนสารพิวรีนในอาหาร 100 กรัม  สามารถแสดงได้ดังตารางนี้


0-50 มิลลิกรัม
(น้อย)
50-150 มิลลิกรัม
(ปานกลาง)
150 มิลลิกรัมขึ้นไป
(มาก ควรงด)

1. นมและผลิตภัณฑ์จากนม 2. ไข่
3. ธัญพืชต่าง ๆ
4. ผักต่าง ๆ
5. ผลไม้ต่าง ๆ
6. น้ำตาล
7. ผลไม้เปลือกแข็งทุกชนิด
 
8. ไขมัน

 1. เนื้อหมู
 2. เนื้อวัว
 3. ปลากระพงแดง
 4. ปลาหมึก
 5. ปู
 6. ถั่วลิสง
 7. ใบขี้เหล็ก
 8. สะตอ
 9. ข้าวโอ๊ต
10. ผักโขม
11. เมล็ดถั่วลันเตา
12. หน่อไม้
1. หัวใจไก่
2. ไข่ปลา
3. ตับไก่
4. มันสมองวัว
5. กึ๋นไก่
6. หอย
7. เซ่งจี้(หมู)
8. ห่าน
9. ตับหมู
10. ยีสต์
11. ปลาดุก
12. น้ำต้มกระดูก
13. เนื้อไก่,เป็ด
14. ซุปก้อน
15. กุ้งชีแฮ้
16. น้ำซุปต่าง ๆ
17. น้ำสกัดเนื้อ
18. ปลาไส้ตัน
19. ถั่วดำ
20. ถั่วแดง
21. ปลาขนาดเล็ก
22. เห็ด
23. ถั่วเขียว
24. กระถิน
25. ชะอม
26. ตับอ่อน
27. กะปิ
28. ถั่วเหลือง
29. ปลาอินทรีย์
30. ปลาซาดีนกระป๋อง

No comments:

Post a Comment