Wednesday 20 April 2011

ปัญหาของโรคเก๊าท์ในประเทศไทย


ปัญหาของโรคเก๊าท์ในประเทศไทย 

                                                                                                             โดย รัตนวดี ณนคร


1.       ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จำนวนมากยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

        เห็นได้จากการที่ผู้ป่วยยังมีข้ออักเสบเฉียบพลันเกิดขึ้นเป็นๆ หายๆ  และมีผู้ป่วยที่เป็น chronic trophaceous gout  อยู่เป็นจำนวนมาก ต่างจากภาพของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ในประเทศพัฒนาแล้วที่แทบจะไม่เห็นผู้ป่วยในระยะ chronic trophaceous gout เลย

2.       ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ในประเทศไทยจะมีภาวะไตพิการหรือไตวายร่วมด้วย
      ในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 70

       เนื่องจากการรักษาที่ไม่เหมาะสม เช่น รักษาโดยให้กิน NSAIDs (ยาแก้อาการปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น Indomethacin)อย่างต่อเนื่อง หรือลดระดับกรดยูริกในเลือดได้ไม่เพียงพอ

3.       ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ได้รับการประเมินและตรวจหาโรคหรือภาวะอื่นๆ ที่มักจะพบร่วมกับโรคเก๊าท์ 

       ตัวอย่างเช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และเบาหวาน ซึ่งมักจะพบว่ามีโอกาสเกิดร่วมกันบ่อยๆ ต้องให้การรักษาควบคู่กันไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตพิการ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตายและหลอดเลือดสมองอุดตันซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยโรคเก๊าท์

4.       ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับคำอธิบายจากแพทย์ผู้รักษาถึงความจำเป็นในการรักษาและติดตามผลของการรักษาในระยะยาวเพื่อเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

      ผู้ป่วยมักจะเข้าใจผิดคิดว่าเมื่อข้ออักเสบหายแล้วโรคเก๊าท์ก็น่าจะหายด้วยเช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นต้องกินยาและติดตามอาการในระยะยาว





No comments:

Post a Comment