ทราบได้อย่างไร ว่าตนเองเป็นโรคเก๊าท์หรือไม่ อาจทำการพิจารณาจากข้อมูลดังต่อไปนี้้
1. มีประวัติของข้ออักเสบชนิดเฉียบพลัน เป็น ๆ หาย ๆ (ปวด บวม แดง)เมื่อข้ออักเสบหายจะหายเป็นปกติ มักเป็นการอักเสบชนิดข้อเดียวหรือชนิด 2-3 ข้อ
ข้อที่อักเสบมักเป็นกับข้อส่วนล่างของร่างกาย เช่น ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า และข้อเข่า เป็นต้น
2. โรคเก๊าท์พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในเพศชายพบบ่อยช่วงอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงมักพบในวัยหมดประจำเดือน
3. เป็นคนที่มีพฤติกรรมดังนี้ การดื่มสุรา การผ่าตัด ภายหลังการเจ็บป่วยทางอายุรกรรม
การได้รับยาบางชนิด
4. มีโรคประจำตัว อย่างเช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วน
5. มีประวัติภาวะแทรกซ้อนจากกรดยูริกในเลือดสูง เช่น ประวัตินิ่วในทางเดินปัสสาวะ
หากพบว่า ตนเองมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
ก็อย่างเพิ่งตัดสินใจว่า ตนเป็นโรคก๊าท์แน่ๆ
แต่ให้ไปพบแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำการประเมินผล
เพื่อหาโรคที่แท้จริง และทำการรักษาต่อไป
การวินิจฉัยโรคเก๊าท์
1. การวินิจฉัยที่แน่นอน ได้แก่ การตรวจพบผลึกยูเรตจากน้ำไขข้อหรือปุ่มโทฟัส
(ควรทำการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด compensated polarized light ถ้าสามารถทำได้)
2. ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจพบผลึกยูเรต ให้อาศัยเกณฑ์การวินิจฉัยอย่างน้อย 6 ใน 12 ข้อ
ต่อไปนี้
2.1. ข้ออักเสบเฉียบพลันมากกว่า 1 ครั้ง
2.2. อาการปวดข้อถึงจุดสูงสุดภายใน 1 วัน
2.3. ข้ออักเสบเป็นชนิดข้อเดียว
2.4. ข้ออักเสบมีลักษณะบวมแดง
2.5. มีอาการปวดและบวมของข้อโคนหัวแม่เท้า (metatarsophalangeal joint)
2.6. การอักเสบของข้อโคนหัวแม่เท้าเป็นข้างเดียว (unilateral)
2.7. ข้อกลางเท้า (tarsal joint) อักเสบเป็นข้างเดียว (unilateral)
2.8. มีปุ่มใต้ผิวหนัง
2.9. ระดับกรดยูริกในเลือดสูง
2.10. พบลักษณะข้อบวมชนิดไม่สมมาตรทางภาพรังสี
2.11. พบลักษณะถุงน้ำใต้เปลือกกระดูก (subcortical bone cyst) ทางภาพรังสี
2.12. ตรวจไม่พบเชื้อโรคจากน้ำไขข้อที่ได้ในขณะที่มีข้ออักเสบ
การตรวจร่างกาย
1. ตรวจพบลักษณะข้ออักเสบรุนแรง
2. พบปุ่มใต้ผิวหนังที่สงสัยปุ่มโทฟัส ตำแหน่งที่พบได้บ่อย เช่น ตาตุ่ม ข้อศอก บริเวณหลังมือและเท้า
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำด้วยกระบวนการดังต่อไปนี้
1. การตรวจทางห้องปฏิบัติการทั่วไป ได้แก่ การตรวจนับเม็ดเลือด การตรวจปัสสาวะ หน้าที่การทำงานของตับ (อย่างน้อย AST, ALT) และไต (creatinine)
2. การตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะ ได้แก่
2.1. การเจาะตรวจน้ำไขข้อหรือปุ่มโทฟัส พบผลึกรูปเข็ม (ผลึกจะแสดงลักษณะ
birefringent with negative elongation เมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิด compensated polarized light)
2. 2. ในรายที่สงสัยข้ออักเสบติดเชื้อร่วม ควรทำการย้อมสีกรัมและเพาะเชื้อ
2.3. ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด
2. 4. การตรวจปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเพื่อวัดปริมาณการขับกรดยูริกออกทางไต ควรทำเมื่อจะใช้ยาเร่งการขับกรดยูริกออกทางไต
No comments:
Post a Comment