Friday, 29 April 2011

แนวทางการรักษา

แนวทางการรักษา

1.  การรักษาทั่วไป ได้แก่ งดการดื่มสุรา ในรายที่อ้วนควรลดน้ำหนักตัว และรักษาโรคร่วมอื่น ๆ   หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ 
(ในผู้ที่ไตปกติและไม่มีโทฟัสไม่มีความจำเป็นต้องเคร่งครัดในการควบคุบอาหารที่มีสารพิวรีนสูงมากนัก)

2.  การรักษาเฉพาะ

    2.1  ระยะที่มีข้ออักเสบ ให้พิจารณาเลือกการใช้ยาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
2.1.1     ให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal antiinflammatory
drugs) เช่น
Indomethacin 75-150 มก./วัน
Diclofenac 75-150 มก./วัน
Naproxen 500-1000 มก./วัน
Piroxicam 20 มก./วัน (วันแรกให้ 40 มก)
Ibuprofen 1200-2400 มก./วัน
-          การให้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ควรให้ยาในขนาดสูง (loading dose) ในวัน
แรก
-          ไม่ควรใช้ยา aspirin เนื่องจากยาทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับกรดยูริก
-          ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาได้ อาจพิจารณาการให้ยาต้านอักเสบชนิดไม่
ใช่สเตียรอยด์ชนิดฉีด

     2.2  ยา colchicine (0.6 มก.)  ให้ทุก 4-6 .ในวันแรก     และลดลงเหลือ วันละ 2
เม็ดในวันต่อมา  ให้นาน 3-7 วัน

     2.3  ใช้ยา colchicine ขนาดต่ำ (0.6-1.2 มก./วัน) ร่วมกับการใช้ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ในขนาดต่ำ
การให้ยาในข้อ 2.1-2.3 ระยะเวลาในการให้ยานานประมาณ 3-7 วันหรือจนกว่าอาการทุเลา

     2.4  ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์พิจารณาเมื่อ
2.4.1  มีข้อห้ามในการให้ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น เลือดออกในทาง
เดินอาหาร หรือไตวาย และมีข้ออักเสบหลายข้อ
2.4.2  ถ้ามีการอักเสบเพียงข้อเดียวอาจพิจารณาให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ฉีดเข้า
ช่องข้อ (intraarticular corticosteroid)

ในการพิจารณาให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์  ควรมั่นใจว่าไม่มีการติดเชื้อในร่างกายขนาดของยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (โดยการรับประทานหรือด้วยการฉีด

ที่ใช้คิดเป็นขนาดเทียบเท่ากับยา prednisolone 15-20 มก./วัน และควรรีบลดขนาดยาลงโดยเร็วเมื่ออาการดีขึ้น

ในการใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ควรพิจารณาให้ยา colchicine ขนาดต่ำ (0.6 มก./วัน) ร่วมด้วย  เพื่อป้องกันการกำเริบซ้ำ

การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าช่องข้อ ควรแน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อในช่องข้อ ในกรณีที่ไม่แน่ใจควรเพาะเชื้อจากน้ำไขข้อก่อนการฉีดยาเข้าช่องข้อเสมอ


ที่มา :  แนวทางเวชปฏิบัติภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) และโรคเก๊าท์ (Gout) โดยสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

No comments:

Post a Comment